joomla-design-website

joomla ออกแบบเว็บไซต์ ออกแบบเทมเพลต ง่ายๆ ได้อย่างไร

joomla-design-website

แม้ว่าคนยุคนี้นิยมการทำเว็บไซต์ด้วย wordpress แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าแม้จะมาก่อนแต่ Joomla โปรแกรมสร้างเว็บไซต์ตัวนี้ก็ยังได้รับความนิยมจากเหล่านักพัฒนาเหมือนกัน ทั้งมือสมัครเล่น ไปจนถึงมืออาชีพ คำถามโลกแตกอันหนึ่งของการสร้างเว็บไซต์ด้วย Joomla ก็คือ เราจะเลือกเทมเพลตฟรี หรือ แบบเสียเงินมาใช้กันดี เราวิเคราะห์ในมิติต่างมาให้ฟังกัน

ทำเองหรือรับจ้างทำ

คำตอบแรกเราต้องดูก่อนว่า เว็บไซต์ที่เราทำนั้น เราทำเองใช้เอง หรือ รับจ้างคนอื่นมาทำเว็บไซต์ให้ หากเป็นกรณีแรกถามต่อว่าเรามีงบประมาณสำหรับทำหรือไม่หากไม่มีก็คงต้องไปทางตัวฟรี หรือ หากมีก็อาจจะเบนเข็มไปยังกลุ่มเสียเงินก็ได้ แต่ถ้าหากเรารับจ้างทำเว็บไซต์ล่ะก็ เราขอแนะนำว่าการจ่ายเงินเพื่อซื้อเทมเพลตสวยมาทำจะทำให้งานเราเร็วขึ้นกว่าเดิมประหยัดเวลาไปได้เยอะ อีกทั้งของเสียเงินจะมีการวางกลุ่มสี แนวทางที่ตรงกับคอนเซปต์ของเป้าหมายลูกค้าได้มากกว่า ส่วนเรื่องราคาเราก็บวกเพิ่มไปจากค่าทำงาน ก็เหมือนเราไม่ได้เสียเงินเพิ่มเท่าไร

รูปแบบของเทมเพลต

การเลือกใช้เทมเพลตนั้นสาเหตุสำคัญของการเลือกใช้ของฟรี หรือ เสียเงินก็คือ รูปแบบ สี การจัดวางเลย์เอาท์ของพวกเค้า บางอันเราต้องยอมรับว่า กลุ่มเสียเงินทำได้ดีกว่ามาก การไล่ระดับสี ลูกเล่น ของเทมเพลตนั้นจัดว่ายอดเยี่ยมเลย นั่นทำให้เราต้องยอมเสียเงินซื้อเทมเพลตเล่านั้นมาใช้งานด้วย มองอีกมุมหนึ่งการซื้อเทมเพลตแบบนี้ก็เหมือนกับเป็นการซื้อตัวอย่างมาเรียนรู้ด้วยเหมือนกันนะ

ฝีมือการแก้ไข

สำหรับมือเก๋าการแก้ไขเทมเพลตอาจจะไม่ยากเท่าไร แต่หากเป็นมือใหม่ หรือ กำลังฝึกหัดอยู่การแก้ไขเทมเพลตบอกเลยว่ไม่ง่ายอย่างที่คิดนะ ต้องใช้เวลาฝึกฝนพอสมควรทีเดียว หากเราอยากฝึกฝีมือตรงนี้การใช้เทมเพลตแบบฟรีจะมองเห็นได้ง่ายกว่า(สคริปต์สั้นกว่า) แต่ถ้าเป็นเทมเพลตแบบเสียเงิน บอกเลยว่าสคริปต์มันยาวมากจนเรามองไม่เห็นเลยว่าอะไรอยู่ตรงไหน เพราะเค้าจะใช้คำสั่งเกี่ยวกับลูกเล่นอะไรลงไปอีกเยอะเลย

ปลั๊กอิน ตัวช่วยสายฟรี

หากเราอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คิดว่าจะทำเว็บไซต์สายฟรีขึ้นมา แต่อาจจะกังวลว่าจะสู้เทมเพลตของกลุ่มเสียเงินไม่ได้ อันนี้ไม่จริงเลย เอาเข้าจริงเทมเพลตสายฟรีก็มีหลายอันที่เจ๋งจนสายเสียเงินอาจจะต้องหลบก็ได้ แต่อาจจะต้องหากันนานหน่อย แต่หากเราจะทำสายฟรีจริง การเติมปลั๊กอินลงไปให้เหมาะสมก็จะทำให้เว็บไซต์ของเราไม่แพ้เทมเพลตแบบเสียเงินด้วยเหมือนกัน ลองวางแผนออกแบบตรงนี้ให้ดี

website-and-webblog-ability

เว็บไซต์กับเว็บบล็อก แตกต่างกันอย่างไร

website-and-webblog-ability

การทำเว็บไซต์เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญของการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทั่วไป เอกชน หรือ รัฐบาลต่างก็มีเว็บไซต์ด้วยกันทั้งนั้นเพื่อเอาไว้ประชาสัมพันธ์ ขายของ ทำกิจกรรมเกี่ยวองค์กรของตัวเอง แต่เว็บไซต์เองก็มีความหลากหลายต่างกันไปตามเป้าหมายของผู้สร้างด้วย อีกหนึ่งคำทำเอาใครหลายคนสับสนมาก คือ เว็บไซต์ กับ เว็บบล็อกมันแตกต่างกันตรงไหน

องค์กร กับ บุคคุล

ความแตกต่างแรกแบบเห็นได้ชัดเจนของเว็บไซต์ กับ เว็บบล็อก นั่นคือเว็บไซต์จะเป็นการทำในลักษณะขององค์กรขนาดใหญ่กว่าไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาคธุรกิจ องค์กรของรัฐเป็นต้น ส่วนเว็บบล็อกนั้นส่วนมากจะเป็นการทำในลักษณะของคนคนเดียวมากกว่าเป็นกลุ่มก้อน เช่น การทำเว็บบล็อกบอกเล่าเรื่องราวของตัวเอง การท่องเที่ยวเป็นต้น แม้ว่าการทำเว็บไซต์แบบเป็นของคนเดียวก็มี แต่จะเป็นลักษณะองค์กรมากกว่า

ทางการ กับ ส่วนตัว

การทำเว็บไซต์นั้น มักจะมีความน่าเชื่อถือเรื่องของข้อมูลมากกว่า การทำเว็บไซต์จะเป็นไปในรูปแบบของทางการขององค์กรนั้นไม่ว่าจะเป็นการประกาศ การประชาสัมพันธ์ การนำเสนอสินค้า จะทำได้น่าเชื่อถือมากกว่า ส่วนเว็บบล็อคเป็นเรื่องของความเป็นส่วนตัว ไม่เป็นทางการสักเท่าไร เช่น การเขียนไดอารี่ การบอกเล่าเรื่องราวตัวเอง การแนะนำทริคเล็กในการทำอาหารเป็นต้น

การปรับแต่งเว็บไซต์

การทำเว็บไซต์ การทำเว็บบล็อกเดี๋ยวนี้ไม่ยากเท่าไรนัก เนื่องจากมีอุปกรณ์ช่วยเยอะแยะมากมาย ทั้งเว็บสำเร็จรูป การจ้างทำ เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้ทั้งสองอย่างแตกต่างกันเรื่องการปรับแต่ง เว็บไซต์จะมีการปรับแต่งได้หลากหลายกว่า ละเอียดกว่า มีเครื่องมือใช้ในการทำได้มากกว่า แม้จะเป็นเว็บไซต์ฟรีก็ตาม กลับกันเว็บบล็อกด้วยความเป็นของฟรีจึงทำให้การปรับแต่งบางอย่างมีข้อจำกัดเนื่องจากต้องรักษาพื้นที่โฆษณาให้กับต้นทางของการให้บริการเว็บบล็อคด้วย แม้จะมีเครื่องมือเยอะขึ้นถ้าไปเทียบกับการแต่งเว็บไซต์ ยังน้อยกว่ามากนัก

ค่าบำรุงดูแลรักษา

การทำเว็บไซต์ฟรีก็ต้องบอกว่ามี ซึ่งหากจะทำเว็บไซต์กันแบบจริงจังการใช้ของฟรีน่าจะเป็นพื้นที่ทดลองมากกว่า การทำเว็บควรจะต้องลงทุนกับเซิฟเวอร์ไปเลยจะได้ดีกว่าในระยะยาว การทำเว็บไซต์หนึ่งนั้นจะมีค่าบำรุงรายปี ค่าดูแลรักษา ค่าแอดมินเพื่ออัพเดตเว็บไซต์อีก อาจจะดูว่ามีค่าใช้จ่ายหลายรายการเอาเค้าจริงปีหนึ่งก็ไม่กี่พันบาท ซึ่งแตกต่างจากเว็บบล็อกไม่มีค่าใช้จ่ายตรงนี้เลย ซึ่งมันก็แลกมากับความไม่มั่นคงของเว็บบล็อกเราอาจจะถูกปิดได้โดยที่เราไม่รู้เรื่องเช่นกัน

ความแตกต่างทั้งสองอย่างนี้ เราเองในฐานะคนจะทำเว็บไซต์ต้องดูก่อนว่าเป้าหมายของเราคืออะไร หากเพียงแค่ต้องการพื้นที่ระบาย บอกเล่าเรื่องราวตัวเอง ไปเว็บบล็อกก่อน แต่หากจะทำร้านค้าออนไลน์ขายของ ประชาสัมพันธ์ร้านค้า องค์กรตัวเองการทำเว็บไซต์ถือว่าตอบโจทย์ได้มากกว่า

home-page-design2

Themes มีความสำคัญอย่างไรกับการออกแบบเว็บไซต์

Themes เปรียบได้ดังหน้าตาของเว็บไซต์ ถ้าพูดถึงการทำเว็บในยุคแรก ก็ไม่ค่อยมีอะไรมาก เนื่องจากเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบเว็บไซต์มีน้อยมาก เพราะเขียนโค้ดเพียงอย่างเดียว มีความยุ่งยากสุดๆ แต่ในปัจจุบันนี้ รูปแบบของ Theme ได้มีการพัฒนาไปมาก นอกจากความสวยงามของเว็บไซต์แล้ว ยังได้มีการสอดแทรกฟังก์ชั่นในการทำงานด้านต่างๆ เพิ่มเข้าไปด้วย

ประเภทของ Themes แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบฟรีและแบบเสียเงิน เว็บไซต์ที่มีใช้ Themes สวยงาม จะแสดงออกถึงความชำนาญของเจ้าของเว็บซึ่งมีทักษะสูง ทำให้ดูมีความน่าเชื่อถือ ส่วนเว็บที่ใช้ Themes แบบดั้งเดิม ซึ่งระบบให้มา มักสร้างเว็บออกมาได้ไม่ค่อยเป็นเอกลักษณ์ ไม่อาจดึงดูดให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์กลับเข้ามาอีก ซึ่งคุณเห็นได้ว่า Themes เป็นส่วนโครงสร้างที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของเว็บไซต์ นั้นได้เลย

เลือก Themes ให้เหมาะกับเว็บไซต์

ก่อนอื่นคุณต้องรู้ว่าตัวเองกำลังทำเว็บเกี่ยวกับอะไร เพื่อจะได้เลือก Themes ให้เข้ากันกับเนื้อหาของเว็บไซต์ โดยการเลือก Themes ต้องเลือกตามหมวดหมู่ เช่น ถ้าคุณทำเว็บเฉพาะด้านอย่าง เช่น e – Commerce , นิตยสาร , ข่าว , การท่องเที่ยว ก็จะเหมาะกว่าถ้าเลือก Themes เฉพาะด้านนั้นไปเลย Themes เฉพาะด้านเหล่านี้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเราได้มากขึ้น แถมยังสวยงามอีกด้วย

ใช้เวลาศึกษา Themes ให้ดี

ให้เวลากับการศึกษาปรับแต่ง Themes นั้นๆ คือ ต้องรู้ว่าต้องจัดวางอะไรตรงไหนได้ยังไงบ้าง เพราะเกือบทุก Themes จะต้องมี Document คือ คู่มือที่จะทำให้เรารู้ว่าควรปรับแต่งอะไรบ้าง และ ถ้าเรามีความเชี่ยวชาญมากพอก็สามารถทำเว็บออกมาได้อย่างสร้างสรรค์ เป็นตัวสร้างเงินและอาชีพให้แก่คุณได้มากมายอีกด้วย

ดู Demo ของ Themes ก่อนตัดสินใจเลือกใช้

Directory-Themes-of-Best

เป็นการดูตัวอย่างขณะออนไลน์จริงๆ นั่นเอง เนื่องจากบาง Themes จะมีตัวอย่างหลากหลายแบบเพื่อให้เราได้มองภาพออกว่ามันสามารถปรับแต่งได้ยังไงบ้าง รวมทั้ง มีฟังชั่นพิเศษอะไร จุดเด่น จุดด้อยของ Themes นั้นๆ และสามารถนำไปต่อยอดในอนาคตอย่างไร

มีระบบลิงค์ภายในที่ดี

การมีระบบลิงค์ภายในของเว็บที่ดีจะทำให้ Search Engine Robots สามารถเก็บข้อมูลไปแสดงผลได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น นอกจากหน้า Post ของบทความซึ่งสามารถนำไปอันดับบนผลการค้นหาได้แล้วนั้น ในส่วนของหน้า Category และ หน้า Tag ก็นำไปติดอันดับได้เช่นเดียวกัน โดยระบบลิงค์ภายในของเว็บที่ยอดเยี่ยม จะช่วยให้การทำอันดับได้ดีขึ้นมาก

Theme จะต้องรองรับการแสดงผลต่ออุปกรณ์บนมือถือ

ควรตรวจสอบว่า Theme ที่เลือกใช้เป็น Mobile Friendly หรือไม่ รวมทั้งรองรับ Responsive view จากอุปกรณ์ประเภทอื่นๆ ได้ไหม เพราะอย่าลืมว่าสมัยนี้คนใช้โทรศัพท์ในการเข้าเว็บมากกว่าคอมพิวเตอร์ ถ้า Theme ของคุณไม่รองรับการแสดงบนมือถือ ก็จะส่งผลให้คนเข้าเว็บไซต์ของคุณน้อยลงนั่นเอง

home-page-design2

5 องค์ประกอบในการออกแบบเว็บสมัยใหม่

webdesign-nability

ปัจจุบันสื่อออนไลน์ในรูปแบบของ เว็บไซต์ สื่อสังคม แอพพลิเคชั่นต่างๆ  เข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การอำนวยความสะดวก หรือจะเป็นด้านธุรกิจ โดยเฉพาะในปัจจุบันหากธรุกิจใด มีการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมา ตัวเว็บไซต์จะมีส่วนช่วยให้ธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จได้รวดเร็วขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงข้อมูล และบริการต่างๆ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ที่ทั้งสะดวก แถมยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย ในการออกแบบเว็บไซต์ให้เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบันนั้นมีหลักการง่ายๆ ดังนี้

1.หลักการลำดับความสำคัญขององค์ประกอบในหน้าเว็บไซต์อย่างถูกต้อง (Visual Hierarchy) เป็นการจัดองค์ประกอบให้เป็นไปตามลำดับของความสำคัญ web site ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย Main menu, Banner slide, Call To Action bottun และข้อมูลการใช้ติดต่อ เป็นต้น โดยมองในแง่มุมของผู้เข้าชมเว็บ หรือลูกค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บ และสร้างแรงจูงใจให้เกิดการซื้อ หรือความสนใจในเนื้อหาของเว็บไซต์นั้นๆ

2.นำทางผู้ใช้งานเว็บไซต์ ให้ถึงเป้าหมายตรงตามต้องการ (Navigability) เว็บไซต์สมัยใหม่ที่ดี ต้องสามารถนำลูกค้า หรือผู้เยี่ยมชมเว็บเข้าไปยังจุดประสงค์ที่ต้องการอย่างรวดเร็ว สามารถลิ้งค์จากหน้าหนึ่ง ไปยังอีกหน้าได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องเสียอยู่กับหน้าเพจอื่นที่ไม่จำเป็น ทำให้ลูกค้าใช้เวลาอยู่กับเว็บไม่นานเกินไป ปัจจัยนี้สามารถเพิ่มโอกาสในการซื้อได้ หากเว็บไซต์นั้นเกี่ยวกับธุรกิจการซื้อขาย

3.การเน้นการใช้งานและความเรียบง่าย (Simplicity) นั่นคือลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้สะดวก ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาข้อมูลให้ยุ่งยาก หรือต้องเสียเวลาเลื่อนดูข้อมูลที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ควรมีเนื้อหาที่กระชับ ชัดเจน สีสันของเว็บที่เหมาะสม ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป ทำให้ผู้เข้าชมประทับใจว่า เข้ามาใน web site ของเราแล้วได้ข้อมูลและบริการตรงตามที่ต้องการ ไม่ใช่ว่าเข้ามาแล้วหาข้อมูลไม่เจอ หรือบางครั้งข้อมูลไม่ตรงตามที่ลูกค้าต้องการ

4.รักษาโครงสร้างหลักของเว็บไซต์ที่เราคุ้นเคยเอาไว้ (Conventionality) ลูกค้าหรือผู้เข้าชมเว็บส่วนใหญ่จะสามารถคาดเดาตำแหน่งหรือการเข้าถึงตัวข้อมูลได้จากความคุ้นชิน เนื่องจากการพัฒนาเว็บไซต์นั้นมีมาหลายปีแล้ว เช่น เมื่อเราต้องการทราบแหล่งอ้างอิง เราจะเลื่อนลงไปด้านล่างสุดของเว็บ เมื่อเราต้องการทราบจำนวนผู้เข้าชมเว็บเราจะกวาดสายตาไปด้านซ้ายมือของหน้าโฮมเพจ เมื่อเราต้องการเปลี่ยนภาษา ปุ่มนั้นมักจะอยู่ด้านบนฝั่งขวามือของเว็บ ดังนั้นเราจึงควรคำนึงถึงความเคยชินเหล่านี้ และออกแบบให้เว็บไซต์ของเราเป็นไปในแบบคงที่ตามเดิม เพื่อความสะดวกให้กับผู้เข้าชมเว็บ

5.รองรับผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้ในเทคโนโลยีที่หลากหลาย (Accessibility) ปัจจุบันมีการใช้งานของลูกค้า หรือผู้เข้าชมจากอุปกรณ์ที่แตกต่างกันมากมาย ดังนั้นเว็บไซต์แบบสมัยใหม่ที่ดีจะต้องรองรับได้ในหลายๆ รูปแบบ ทั้งบราว์เซอร์ ระบบปฎิบัติการ รวมไปถึงระบบซอฟต์แวร์ด้วย

home-page-design2

The new technology กับ Html5

html5_design_website

HTML มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า Hypertext Markup Language เป็นภาษาโครงสร้างเว็บเพจ ความหมายในมุมแคบๆ ของ Html5 คือ สเปกของภาษา HTML รุ่นที่ 5 และความหมายในมุมกว้างของ Html5 คือ ชุดของเทคโนโลยีเว็บสมัยใหม่ เป็นภาษา Markup ที่ใช้สำหรับเขียนเว็บไซต์ ซึ่ง Html5 นี้ถูกพัฒนามาจาก Html รุ่นเดิมๆ โดยดารเพิ่มฟีเจอร์หลากหลายมากขึ้น

ความแตกต่าง html กับ html5

– Doctype เขียนง่ายขึ้น ในจณะที่เวอร์ชั่นเก่าๆ จะต้องตามด้วยรายละเอียดยาวๆ แต่ Html5 จะเหลือแค่ <!DOCTYPE html>

– การกำหนดภาษาทำได้ง่ายขึ้น คือ เวอร์ชั่นเก่าจะต้องเขียน xml:lang ในแท็ก <html> เพื่อกำหนดภาษาของเพจ แต่  HTML5 จะเหลือแค่ <html lang=”en”>

– แท็กเก่าๆ บางส่วนไม่รองรับใน HTML5

– ไม่ต้องมี “/” สำหรับแท็กเดี่ยว เวอร์ชั่นเก่า แท็กเดี่ยวจะบังคับให้มี “/” ปิดท้าย เช่น <br /> แต่ Html5 ไมต้องมี

– กำหนดชุดตัวอักษรทำได้ง่ายขึ้น เวอร์ชั่นเก่าๆ ต้องเขียนแท็ก meta ยาว ๆ เพื่อกำหนด Character Set เป็น UTF-8 แต่ Html5 เขียนแค่ <html lang=”en”>

หลักของการเขียน HTML5

1.เตรียมเครื่องมือให้พร้อม  เครื่องมือหลักๆ

ในการเขียน Html นั้นมีอยู่ 2 อย่าง คือ Text Editor คือเครื่องมือที่สามารถเซฟไฟล์เป็น Html ได้ อย่างที่สอง คือ Browser ที่มาสารถตรวจสอบองค์ประกอบได้ เช่น Google Chrome หรือ Mozilla Firefox เป็นต้น

2.รู้จักโครงสร้างพื้นฐาน ทุกเอกสารของ Html จะประกอบไปด้วย

<!doctype html> เป็นตัวที่ทำมห้รู้ว่านี่เป็นเอกสาร HTML

<html>  จะเป็นข้อมูลต่างๆ ที่ประกอบไปด้วย <head></head> เป็นข้อมูลที่โหลดก่อน และ <body></body> เป็นข้อมูลแสดงผล ตัวอย่างเช่น เมื่อเราโหลดเข้าไปในเว็บไซต์ๆหนึ่ง ชื่อของเว็บไซต์นั้นจะขึ้นก่อนเสมอ แม้ตัวเว็บจะยังโหลดไม่เสร็จก็ตาม เป็นเพราะว่าชื่อเว็บไซต์แต่ละเว็บนั้นมีข้อมูลอยู่ที่ส่วน <head></head> ข้อมูลที่อยู่ในส่วน <head></head> นั้นจะเป็นข้อมูลที่ใช้ก่อนแสดงผล เช่น เว็บนี้ภาษาอะไร เว็บนี้มีลูกเล่นอะไรบ้าง เว็บนี้จัดรูปแบบสไตล์ใด และในส่วนที่ใช้แสดงเนื้อหา คือถ้าเราพิมพ์ข้อความใดๆ ก็ตามแต่ ใน<body></body> มันจะแสดงข้อความนั้นเป็นปกติ แต่ถ้าเราเว้นวรรคหลายๆ ครั้ง มันจะเว้นวรรคเพียงครั้งเดียว หรือถ้าเราขึ้นบรรทัดใหม่ หรือจัดย่อหน้าใดๆ มันจะไม่แสดงผลตามที่เราต้องการ ดังนั้นสิ่งที่เราควรรู้เพิ่มเติม คือ การใช้ Tag ให้ถูกประเภท

3.ใช้ Tag ให้ถูกประเภท คือ

<html>  จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนของ <head></head> และส่วนของ <body></body> ซึ่งจะมี Tag หมายๆ Tag ที่ใช้ได้เฉพาะแค่ส่วนนั้น แต่ในหัวข้อนี้เราจะเน้นไปที่ส่วนของแสดงผล หรือ <body></body>  นั่นเอง

นั้นมีหลากหลาย แบ่งง่ายๆ เป็น 5 ประเภท นั่นก็คือ

1.Tag ที่ใช้สำหรับการจัดวาง ไม่ว่าจะเป็นช่องต่างๆ หรือตารางต่างๆ

2.Tag ที่ใช่ในการจัดวางข้อความ หรือ Text นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อ ใส่สี ขึ้นหน้าใหม่ ย่อหน้าใหม่

3.Tag ที่ใช้ในการจัดการแบบฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นการใส่ข้อความต่างๆ หรือปุ่มต่างๆ

4.Tag ที่ใช้ในการจัดการสื่อต่างๆ หรือ media นั่นเอง เช่น รูปภาพ วีดีโอ และไฟล์เสียง

5.Tag อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น สร้างลิ้งค์ สร้างเมนู หรือเรียก web อื่นๆ ให้มาแสดงผล

4.เริ่มฝึกฝนทักษะในการเขียน Html

home-page-design2

หลักการออกแบบเว็บไซต์

องค์ประกอบของการออกแบบเว็บไซต์ จะต้องทำให้เว็บไซต์นั้นมีความสร้างสรรค์ ทำให้เป็นสื่อที่ดีอีกช่องทางหนึ่ง และต้องมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับเนื้อหาที่เราต้องการสื่อ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องไปด้วยกันเว็บไซต์จึงจะContinue reading